Blog และ ข่าวสาร

Blog บทความออนไลน์

ติวเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.4-6 เพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ฝึกตะลุยโจทย์แนวข้อสอบกว่าพันข้อเพื่อฝึกฝีมือและทักษะการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ และบทความ

สมัครเรียนออนไลน์ กับครูสอน Tuemaster

คลิกเลย

เนื้อหาเซต ม.4 สรุปเรื่องเซต (Set) คืออะไร?



เนื้อหาเซต ม.4 สรุปเรื่องเซต (Set) คืออะไร?

เนื้อหาเซต ม.4 สรุปเรื่องเซต (Set) คืออะไร?
เนื้อหาการเรียนรู้
• ประเภทของเซต
• เซตของจำนวน
• กำรเปรียบเทียบเซต
• กำรกระทำของเซต
• เซตย่อย
• เพาเวอร์เซต
• แผนภำพเวนย์- ออยเลอร์
• กำรหำจำนวนสมำชิกในเซต

ประเภทของเซต

1.       เซตว่าง (Empty Set) คือ เซตที่ไม่มีสมาชิกเลย เขียนแทนด้วย { } หรือ   (phi) เช่น

 เซตของจำนวนเต็มที่อยู่ระหว่าง 1 กัน 2

2.       เซตจำกัด (Finite Set) คือ เซตที่มีจำนวนสมาชิกเท่ากับจำนวนเต็มบวก หรือ ศูนย์ เช่น

  มีจำนวนสมาชิกเป็น 0 ,{123, ...,100มีจำนวนสมาชิกเป็น 100

3.       เซตอนันต์ (Infinite Set) คือ เซตที่ไม่ใช่เซตจำกัด ไม่สามารถบอกจำนวนสมาชิกได้ เช่น

             เซตของจำนวนเต็มบวก {123, ...}, เซตของจุดบนระนาบ

หมายเหตุเซตว่างเป็นเซตจำกัด เพราะสามารถบอกจำนวนสมาชิกของเซตได้ว่า 

                เท่ากับ 0

เซตของจำนวน

สัญลักษณ์ ความหมาย
N เซตของจำนวนนับ
I+ เซตของจำนวนเต็มบวก (จำนวนนับ)
I- เซตของจำนวนเต็มลบ
I เซตของจำนวนเต็ม
Q เซตของจำนวนตรรกยะ
Q' เซตของจำนวนอตรรกยะ
R+ เซตของจำนวนจริงบวก
R- เซตของจำนวนจริงลบ
R เซตของจำนวนจริง

กำรเปรียบเทียบเซต

เซตที่จะเท่ากัน คือ เซตที่เหมือนกันทุกอย่าง นั้นคือ มีจำนวนสมาชิกเท่ากัน และ สมาชิกทุกตัวเหมือนกัน

เช่น

 ถ้ามีเซตสองเซต  เช่น  เซต  A  และ  เซต  B  ที่มีสมาชิกเหมือนกัน คือ สมาชิกทุกตัวของ  เซต  A  เป็นสมาชิกของ  เซต  B  และ  สมาชิกทุกตัวของเซต  B  เป็นสมาชิกของ  เซต  A  เรากล่าวได้ว่า  เซต  A  เท่ากับ เซต  B  เขียนแทนด้วย  A = B
 
              บทนิยาม   เซตที่เท่ากัน  คือ  เซตที่เหมือนกันทุกตัว
 
               เช่น  A  เป็นเซตของตัวอักษรในคำว่า  “AMONG”
                      B  เป็นเซตของตัวอักษรในคำว่า   “MANGO”
             เมื่อเขียนเซตแบบแจกแจงสมาชิก  จะได้
                      A  =  {A, M, O, N, G}
                      B  =  {M, A, N, G, O}
          ดังนั้น   A  =  B
 
                      A  =  {{1, 2 }}
                      B  =  {1, 2 }
          ดังนั้น   A ≠  B   ( A มี {1, 2 } เป็นสมาชิก  ส่วน  B มี  1  และ  2  เป็นสมาชิก)

เซตที่เทียบเท่ากัน

       ถ้ามีเซตสองเซต เช่น เซต A  และ เซต  B  ที่มีจำนวนสมาชิกเท่ากันและสมาชิกภายในเซตทั้งสองสามารถจับคู่แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (one to one correspondence) ได้พอดี เรากล่าวได้ว่า  เซต A  เทียบเท่า เซต  B เขียนแทนด้วย  A = B
 
           บทนิยาม  เซตที่เทียบเท่ากัน คือ เซตที่มีสมาชิกภายในเซตสามารถจับคู่แบบหนึ่งต่อหนึ่งได้พอดี
 
           เช่น  A  =  {แดง, เหลือง, ชมพู, เขียว, แสด}
                   B  =  {เงาะ, ลำไย, มะม่วง, ชมพู่, แตงโม}
       ดังนั้น   A ↔  B  แต่  A ↔ B

Set Operator ( การกระทำของเซต)

 การดำเนินการของเซต ( Operation With set ) เป็นการสร้างเซตขึ้นมาใหม่จากการนำเซตที่กำหนดให้ มาดำเนินการตามต้องการ ซึ่งจะมีการดำเนินการหลายแบบ เช่น ยูเนียนของเซต อินเตอร์เซกชันของเซต คอมพลีเมนต์ของเซต และผลต่าง
 
ยูเนียน ( Union )
 
    มีนิยามว่า เซต A ยูเนียนกับเซต B คือเซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A หรือ
 
    เซต B หรือทั้ง A และ B  สามารถเขียนแทนได้ด้วย สัญลักษณ์ A ∪ B
 
    ตัวอย่างเช่น    A ={1,2,3}
 
                          B = {3,4,5}
 
        ∴ A U B = {1,2,3,4,5}
 
อินเตอร์เซกชัน ( Intersection )
 
         มีนิยามคือเซต A อินเตอร์เซกชันเซต B คือเซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A และเซต B  สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A ∩ B
 
ตัวอย่าง เช่น     A ={1,2,3}
 
                        B = {3,4,5}
 
                    ∴ A ∩ B = {3}
 
คอมพลีเมนต์ ( Complements ) 
 
            มีนิยามคือ ถ้าเซต A ใดๆ ในเอกภพสัมพัทธ์  แล้ว คอมพลีเมนต์ของเซต A คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของ U แต่ไม่เป็นสมาชิกของ A สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A’
 
ตัวอย่างเช่น    U = {1,2,3,4,5}
 
                       A ={1,2,3}
 
                    ∴ A’ = {4,5}
 
ผลต่าง ( Differnce )
 
                บทนิยาม ถ้า A และ B ต่างก็เป็นสับเซตของเซต U ผลต่างของเซต A และ B คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกของเซต A แต่ไม่เป็นสมาชิกของ B เขียนแทนด้วย A – B
 
ตัวอย่าง กำหนดเซต A และ B จงหา A – B
 
    กำหนด      A = {3, 9}
 
                     B = {4, 6, 7}
 
                     A – B = {3, 9}

#Tuemaster #เรียนออนไลน์ #เลข #คณิตออนไลน์